โรงเรียนมีข้อตกลงกับโรงเรียน/สถาบันการศึกษาในประเทศ เพื่อการพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน เพิ่มพูนศักยภาพทางวิชาการ
และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งนักเรียนและครูผู้สอนอย่างกว้างขวางระหว่างกัน จำนวน 9 ฉบับ ประกอบด้วย
ที่ | ชื่อโรงเรียน/สถาบัน | วันที่ลงนาม |
1 | สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตศาลายา จ.นครปฐม | 8 ตุลาคม 2545 |
2 | โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร จ.หนองคาย | 20 มีนาคม 2549 |
3 | โรงเรียนเตรียมทหาร กรมยุทธศึกษา จ.นครนายก | 20 กรกฎาคม 2549 |
4 | กลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย 12 แห่ง | 24 กรกฎาคม 2549 |
5 | โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย จ.นครปฐม | 7 สิงหาคม 2549 |
6 | โรงเรียนอุทัยวิทยาคม จ.อุทัยธานี | 16 สิงหาคม 2549 |
7 | กลุ่มโรงเรียนในโครงการโรงเรียนในฝัน(โรงเรียนดีใกล้บ้าน)
ในการอุปถัมภ์ของบริษัทมหาชน จำกัด ธนาคารกรุงไทย 20 โรงเรียน | 16 สิงหาคม 2549 |
8 | กลุ่มโรงเรียนหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน (โรงเรียนดีใกล้บ้าน)
30 โรงเรียน | 30 พฤษภาคม 2550 |
9 | กลุ่มโรงเรียนในโครงการโรงเรียนในฝัน(โรงเรียนดีใกล้บ้าน)ในการ
อุปถัมภ์ของบริษัทมหาชน จำกัด ธนาคารกรุงไทย 33 โรงเรียน | 10 เมษายน 2551 |
โครงการความร่วมมือทางวิชาการกับโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย
คณะกรรมการบริหารโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ในการประชุมครั้งที่ 54/1/2551 เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2551 ได้มี
มติเห็นชอบตามข้อเสนอของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ให้ความร่วมมือทางวิชาการกับ
โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่ง การให้ความร่วมมือทางวิชาการเริ่มต้นจากการเพิ่มพูนศักยภาพผู้บริหารกลุ่ม
โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย โดยการจัดประชุมสัมมนา ศึกษาดูงาน ทั้งในและต่างประเทศ และการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ
ทั้งในและต่างประเทศมาบรรยายให้ความรู้กับกลุ่มผู้บริหารโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย จากนั้นจึงได้เชิญบุคลากรของ
กลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มาทำความรู้จักกับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ในรูปแบบของการเยี่ยมชม การศึกษา
ดูงาน และการฝึกอบรม เพื่อให้บุคลากรของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยทุกคน ได้เข้าใจ ได้เห็นคุณค่าของการจัดการ
ศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ตามแนวทางของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
ในปีงบประมาณ 2551 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนห้องวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่ง
เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2551 ทำให้การให้ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์กับโรงเรียน
จุฬาภรณราชวิทยาลัย มีความเป็นระบบมากขึ้น
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้ให้ความร่วมมือในการดำเนินงานและให้บริการวิชาการแก่โรงเรียนจุฬาภรณราช
วิทยาลัยอย่างต่อเนื่องโดยมุ่งหวังที่จะพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศในการจัดการเรียนการสอน
สำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนจุฬาภรณราช
วิทยาลัยแต่ละแห่ง ในปีงบประมาณ 2551 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้จัดสรรงบประมาณจำนวนหนึ่ง เพื่อสนับสนุน
การจัดการเรียนการสอนนักเรียนห้องวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่ง ในขณะเดียวกัน
สพฐ. ก็ได้จัดสรรงบประมาณอีกจำนวนหนึ่ง เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของนักเรียนดังกล่าวด้วย
ในปีงบประมาณ 2551 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และสพฐ. มีข้อตกลงร่วมกันให้โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
ดำเนินการรับสมัครและคัดเลือกนักเรียนเข้าเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้องวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนจุฬาภรณ
ราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่ง ๆละ 1 ห้องเรียน ๆ ละ 24 คน โดยใช้เกณฑ์และเครื่องมือในการคัดเลือกเช่นเดียวกันกับของ
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ รวมถึงตกลงให้ใช้หลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ในการจัดการเรียนการสอนนักเรียนกลุ่มนี้